ออนไลน์ : 28
1.สภาพทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดและกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกเป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจ อำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง มีวิสัยทัศน์ คือ “องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกเป็นเมืองน่าอยู่ ด้วยการบริหารจัดการที่ดี มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่นและสงบสุข”
1.1 ที่ตั้ง
ตำบลหนองพอกแบ่งการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาล 4 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก 11 หมู่บ้าน ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์โคกหนองเดิ่น ห่างจากอำเภอหนองพอกประมาณ 1 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดร้อยเอ็ด 75 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 580 กิโลเมตร
1.2 ขนาดของพื้นที่
เนื้อที่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 63 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 39,376 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับหน่วยการปกครองอื่นๆ ดังนี้ คือ
ทิศเหนือ ติดกับตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก
ทิศใต้ ติดกับตำบลรอบเมืองและตำบลกกโพธิ์ อำเภอหนองพอก
ทิศตะวันออก ติดกับตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก
ทิศตะวันตก ติดกับตำบลกกโพธิ์ อำเภอหนองพอก
สภาพภูมิอากาศ อยู่ในประเภทฝนเมืองร้อน ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฝนตกชุกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน อากาศร้อนและแห้งแล้งในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน มี 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์
2.เขตการปกครอง
2.1 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน 11 หมู่บ้าน ดังนี้
1. จำนวนหมู่บ้านที่มีพื้นที่เต็มทั้งหมู่บ้าน 10 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 3 บ้านปลาโด, หมู่ที่ 4 บ้านฉวะ, หมู่ที่ 5 บ้านฉวะ, หมู่ที่ 6 บ้านโคกเลาะ, หมู่ที่ 7 บ้านโคกนาคำ, หมู่ที่ 9 บ้านปลาโด, หมู่ที่ 10 บ้านฉวะ, หมู่ที่ 12 บ้านโคกสว่างอารมณ์, หมู่ที่ 13 บ้านสันติสุขพัฒนา และหมู่ที่ 14 บ้านศรีทุ่งเจริญ
2. จำนวนหมู่บ้านที่มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาล ได้แก่ หมู่ที่ 8 บ้านหนองพอก พื้นที่ที่อยู่ในเขต อบต.หนองพอก เรียกว่า หมู่ที่ 8 บ้านหนองพอก (บ้านบุ่งหมากฟัก)
2.2 ประชากร
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีประชากรทั้งสิ้น 6,514 คน แยกเป็นชาย 3,275 คน หญิง 3,239 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 103.39 คน/ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จำแนกประชากรเป็นรายหมู่บ้าน ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือน
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งอยู่ในการกำกับดูแลของนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัดและกระทรวงมหาดไทย โดยมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกเป็นผู้บริหารสูงสุด มีภารกิจ อำนาจหน้าที่ภายใต้ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับและมติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง มีวิสัยทัศน์ คือ “องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกเป็นเมืองน่าอยู่ ด้วยการบริหารจัดการที่ดี มีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยชุมชนมีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่นและสงบสุข”
1.1 ที่ตั้ง
ตำบลหนองพอกแบ่งการปกครองออกเป็น 14 หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาล 4 หมู่บ้าน อยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก 11 หมู่บ้าน ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสาธารณะประโยชน์โคกหนองเดิ่น ห่างจากอำเภอหนองพอกประมาณ 1 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดร้อยเอ็ด 75 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 580 กิโลเมตร
1.2 ขนาดของพื้นที่
เนื้อที่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 63 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 39,376 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับหน่วยการปกครองอื่นๆ ดังนี้ คือ
ทิศเหนือ ติดกับตำบลภูเขาทอง อำเภอหนองพอก
ทิศใต้ ติดกับตำบลรอบเมืองและตำบลกกโพธิ์ อำเภอหนองพอก
ทิศตะวันออก ติดกับตำบลบึงงาม อำเภอหนองพอก
ทิศตะวันตก ติดกับตำบลกกโพธิ์ อำเภอหนองพอก
สภาพภูมิอากาศ อยู่ในประเภทฝนเมืองร้อน ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ฝนตกชุกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน อากาศร้อนและแห้งแล้งในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน มี 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์
2.เขตการปกครอง
2.1 องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน 11 หมู่บ้าน ดังนี้
1. จำนวนหมู่บ้านที่มีพื้นที่เต็มทั้งหมู่บ้าน 10 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 3 บ้านปลาโด, หมู่ที่ 4 บ้านฉวะ, หมู่ที่ 5 บ้านฉวะ, หมู่ที่ 6 บ้านโคกเลาะ, หมู่ที่ 7 บ้านโคกนาคำ, หมู่ที่ 9 บ้านปลาโด, หมู่ที่ 10 บ้านฉวะ, หมู่ที่ 12 บ้านโคกสว่างอารมณ์, หมู่ที่ 13 บ้านสันติสุขพัฒนา และหมู่ที่ 14 บ้านศรีทุ่งเจริญ
2. จำนวนหมู่บ้านที่มีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตเทศบาล ได้แก่ หมู่ที่ 8 บ้านหนองพอก พื้นที่ที่อยู่ในเขต อบต.หนองพอก เรียกว่า หมู่ที่ 8 บ้านหนองพอก (บ้านบุ่งหมากฟัก)
2.2 ประชากร
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีประชากรทั้งสิ้น 6,514 คน แยกเป็นชาย 3,275 คน หญิง 3,239 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 103.39 คน/ตารางกิโลเมตร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จำแนกประชากรเป็นรายหมู่บ้าน ดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากรและจำนวนครัวเรือน
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | จำนวนประชากร | จำนวนครัวเรือน | ||
ชาย | หญิง | รวม | |||
3 | ปลาโด | 257 | 265 | 522 | 142 |
4 | ฉวะ | 308 | 315 | 623 | 164 |
5 | ฉวะ | 320 | 303 | 623 | 134 |
6 | โคกเลาะ | 348 | 328 | 676 | 139 |
7 | โคกนาคำ | 240 | 241 | 481 | 122 |
8 | หนองพอก (บุ่งหมากฟัก) | 278 | 203 | 481 | 51 |
9 | ปลาโด | 396 | 422 | 818 | 225 |
10 | ฉวะ | 274 | 316 | 590 | 146 |
12 | โคกสว่างอารมณ์ | 343 | 334 | 677 | 177 |
13 | สันติสุขพัฒนา | 332 | 333 | 665 | 141 |
14 | ศรีทุ่งเจริญ | 179 | 179 | 358 | 82 |
รวมทั้งสิ้น | 3,235 | 3,275 | 3,239 | 6,514 |
ข้อมูล : สำนักบริหารการทะเบียน อำเภอหนองพอก ณ 8 มิถุนายน 2559
ตารางที่ 2 แสดงจำนวนประชากรแยกตามเกณฑ์อายุ
แยกตามเกณฑ์อายุ | ชาย | หญิง | รวม |
เป็นบุคคลที่ทำบัตรประจำตัวประชาชน | 39 | 39 | 78 |
เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ 15 ปี | 2,474 | 2,509 | 4,983 |
เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ 18 ปี | 2,316 | 2,369 | 4,685 |
เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง อายุ 20 ปี | 2,203 | 2,285 | 4,488 |
เป็นบุคคลที่ต้องขึ้นทะเบียนทหาร | 60 | 0 | 60 |
เป็นบุคคลที่ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหาร | 40 | 0 | 40 |
ข้อมูล : สำนักบริหารการทะเบียน อำเภอหนองพอก ณ 8 มิถุนายน 2559
3.สภาพเศรษฐกิจ
3.1 อาชีพ
ประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอาชีพหลักคือ การทำนา รองลงมาทำไร่ พืชไร่ที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ อ้อย มันสำปะหลัง ถั่วลิสง
ยูคาลิปตัส พืชเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นรายได้ให้แก่ชุมชนในอนาคตอย่างหนึ่งคือ ยางพารา ซึ่งมีประชาชนในพื้นที่ตำบลปลูกกันเป็นจำนวนมาก รวมเป็นพื้นที่ ประมาณ 427 ไร่ นอกจากนี้เกษตรกรมีการทำสวน เช่น สวนมะม่วง กล้วยน้ำว้า ตลอดจนไม้ยืนต้นอื่น ๆ และมีการทำการเกษตรแบบยังชีพภายในครอบครัว พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่อาศัยน้ำฝน ประชากรประกอบอาชีพทำนา ร้อยละ 75 ทำไร่ ทำสวน ร้อยละ 20 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 2 และอาชีพอื่น ๆ ร้อยละ 3
3.2 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอก
- โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก(โรงน้ำแข็ง) 1 แห่ง
- รีสอร์ท/ที่พักค้างคืน 2 แห่ง
3.3 แรงงาน/รายได้
แรงงานที่ใช้ในภาคเกษตรในตำบลส่วนใหญ่ใช้แรงงานจากสมาชิกในครัวเรือนเป็นสำคัญหากแรงงานไม่เพียงพอจะทำการจ้างแรงงานที่มีอยู่ในตำบลเข้ามาช่วยในฤดูการผลิต เมื่อสิ้นสุดฤดูการผลิตแรงงานที่ว่างงานจากภาคเกษตรกรรมจะไปรับจ้างทำงานทั่วไปในจังหวัดใกล้เคียงและกรุงเทพมหานคร รายได้ของครัวเรือนส่วนใหญ่มีรายได้จากภาคการเกษตรเป็นหลัก โดยรายได้เฉลี่ยประมาณ 68,923 บาท / คน / ปี
ตารางที่ 2 แสดงรายได้เฉลี่ยของประชากรในเขต อบต.หนองพอก
ที่ | หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | รายได้เฉลี่ย บาท/คน/ปี |
เปรียบเทียบรายได้เฉลี่ย พ.ศ. 2556 - 2557 | ||
พ.ศ. 2558 | พ.ศ. 2559 | เพิ่มขึ้น | ลดลง | |||
1 | 3 | บ้านปลาโด | 61,956 | 52,775 | 9,181 | - |
2 | 4 | บ้านฉวะ | 48,161 | 49,860 | 1,699 | - |
3 | 5 | บ้านฉวะ | 60,802 | 65,102 | 4,300 | - |
4 | 6 | บ้านโคกเลาะ | 65,639 | 70,365 | 4,726 | - |
5 | 7 | บ้านโคกนาคำ | 48,175 | 46,698 | - | 1,477 |
6 | 8 | บ้านหนองพอก (บุ่งหมากฟัก) | 95,614 | 76,146 | - | 19,468 |
7 | 9 | บ้านปลาโด | 48,936 | 55,254 | 6,318 | - |
8 | 10 | บ้านฉวะ | 52,653 | 49,610 | - | 3,043 |
9 | 12 | บ้านโคกสว่างอารมณ์ | 60,179 | 57,529 | - | 2,650 |
10 | 13 | บ้านสันติสุขพัฒนา | 34,896 | 37,316 | 2,447 | - |
11 | 14 | บ้านศรีทุ่งเจริญ | 65,053 | 59,343 | - | 5,710 |
รายได้เฉลี่ยทุกพื้นที่ | 54,146 | 54,184 | 38 | - |
ข้อมูล : จปฐ. ปี 2558, 2559
3.4 อุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมในตำบลหนองพอกเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่ใช้วัตถุดิบทางการเกษตรเป็นหลัก ได้แก่ โรงสีข้าว นอกจากนี้ยังมีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้แก่ โรงงานน้ำแข็ง จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 บ้านโคกนาคำ
4.สภาพทางสังคม
4.1 ข้อมูลด้านการศึกษา
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีสถาบันการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน 3 แห่ง ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 11 แห่ง
ข้อมูลบุคลากรทางการศึกษา
1. โรงเรียนบ้านปลาโด มีครู/อาจารย์ จำนวน 9 คน อัตราส่วนครู : นักเรียน = 1 : 16.88
2. โรงเรียนศรีสวัสดิ์ มีครู/อาจารย์ จำนวน 10 คน อัตราส่วนครู : นักเรียน = 1 : 9.2
3. โรงเรียนบ้านโคกนาคำ มีครู/อาจารย์ จำนวน 9 คน อัตราส่วนครู : นักเรียน = 1 : 13.66
4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดท่าแสงจันทร์ มีผู้ดูแลเด็ก จำนวน ๔ คน นักเรียน 35 คน แยกเป็น ชาย 20 คน หญิง 15 คน อัตราส่วนผู้ดูแลเด็ก : นักเรียน = 1 : 8.75
5. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกนาคำ มีผู้ดูแลเด็ก จำนวน 2 คน นักเรียน 30 คน แยกเป็น ชาย 12 คน หญิง 18 คน อัตราส่วนผู้ดูแลเด็ก : นักเรียน = 1 : 15.00
6. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปลาโด มีผู้ดูแลเด็ก จำนวน 3 คน นักเรียน 35 คน แยกเป็น ชาย 17 คน หญิง 18 คน อัตราส่วนผู้ดูแลเด็ก : นักเรียน = 1 : 8.75
ข้อมูล : ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2559
ตารางที่ 3 แสดงจำนวนนักเรียนโรงเรียนบ้านปลาโด
ระดับชั้น | จำนวนนักเรียน (คน) | จำนวนห้องเรียน | ||
ชาย | หญิง | รวม | ||
อนุบาล 1 | 13 | 10 | 23 | 1 |
อนุบาล 2 | 9 | 11 | 20 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 1 | 11 | 10 | 21 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 2 | 9 | 8 | 17 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 3 | 8 | 11 | 19 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 4 | 7 | 10 | 17 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 5 | 8 | 9 | 17 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 6 | 11 | 7 | 18 | 1 |
รวมทั้งสิ้น | 76 | 76 | 152 | 8 |
ข้อมูล : ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2559
ตารางที่ 4 แสดงจำนวนนักเรียนโรงเรียนศรีสวัสดิ์
ระดับชั้น | จำนวนนักเรียน (คน) | จำนวนห้องเรียน | ||
ชาย | หญิง | รวม | ||
อนุบาล 1 | 8 | 12 | 20 | 1 |
อนุบาล 2 | 2 | 3 | 5 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 1 | 9 | 4 | 13 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 2 | 6 | 1 | 7 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 3 | 7 | 5 | 12 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 4 | 3 | 7 | 10 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 5 | 7 | 5 | 12 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 6 | 6 | 7 | 13 | 1 |
รวมทั้งสิ้น | 48 | 44 | 92 | 8 |
ข้อมูล : ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2559
ตารางที่ 5 แสดงจำนวนนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกนาคำ
ระดับชั้น | จำนวนนักเรียน (คน) | จำนวนห้องเรียน | ||
ชาย | หญิง | รวม | ||
อนุบาล 1 | 11 | 5 | 16 | 1 |
อนุบาล 2 | 4 | 5 | 9 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 1 | 4 | 8 | 12 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 2 | 6 | 3 | 9 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 3 | 11 | 11 | 22 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 4 | 6 | 12 | 18 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 5 | 11 | 12 | 23 | 1 |
ประถมศึกษาปีที่ 6 | 8 | 6 | 14 | 1 |
รวมทั้งสิ้น | 61 | 62 | 123 | 8 |
ข้อมูล : ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2559
4.2 ข้อมูลด้านการศาสนา
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพอกมีศาสนสถานทางพุทธศาสนา จำนวน 9 แห่ง สถานที่ให้บริการมีความทั่วถึงและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนที่มาประกอบพิธีทางศาสนาในงานบุญ งานประเพณี และวันนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ ของตำบล ดังนี้
(1) วัดปิยะวาสบำรุง ตั้งอยู่ หมู่ 3 บ้านปลาโด
(2) วัดตูมทองวนาราม ตั้งอยู่ หมู่ 9 บ้านปลาโด
(3) วัดทุ่งเจริญ ตั้งอยู่ หมู่ 7 บ้านโคกนาคำ
(4) วัดป่าศิริมงคล ตั้งอยู่ หมู่ 12 บ้านโคกสว่างอารมณ์
(5) วัดท่าแสงจันทร์ ตั้งอยู่ หมู่ 6 บ้านโคกเลาะ
(6) วัดศรีสวัสดิ์ ตั้งอยู่ หมู่ 5 บ้านฉวะ
(7) วัดบูรพาสามัคคีธรรม ตั้งอยู่ หมู่ 10 บ้านฉวะ
(8) วัดป่าดำรงค์ธรรม ตั้งอยู่ หมู่ 8 บ้านหนองพอก (บุ่งหมากฟัก)
(9) วัดป่าโป่งช้าง ตั้งอยู่ หมู่ 13 บ้านสันติสุขพัฒนา
4.3 ข้อมูลด้านการสาธารณสุข
มีสถานบริการด้านสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง คือ โรพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฉวะ ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านฉวะ มีเจ้าหน้าที่ 3 คน คอยให้บริการแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 4, 5, 6, 8 และ 10 มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ มีอาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 198 คน อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 การบริการด้านสาธารณสุขของตำบลหนองพอกนับว่าให้ความสะดวกแก่ประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ซึ่งนอกจากประชาชนจะรับบริการจากโรพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแล้วประชาชนยังสามารถไปรับบริการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลประจำอำเภอหนองพอกได้โดยสะดวกอีกด้วย
4.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
สถานีตำรวจ .................. - ................... แห่ง
สถานีดับเพลิง ................1................... แห่ง
4.5 ขนบธรรมเนียมประเพณี
- บุญข้าวจี่ เดือน กุมภาพันธ์
- บุญมหาชาติ เดือน มีนาคม
- งานสงกรานต์ เดือน เมษายน
- บุญบั้งไฟ เดือน พฤษภาคม
- ประเพณีเข้าพรรษา เดือน กรกฎาคม
- ประเพณีออกพรรษา เดือน ตุลาคม
- ประเพณีบุญมหากฐิน เดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน
5.การบริการพื้นฐาน
5.1 การคมนาคม เส้นทางการคมนาคม แบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2316 ติดต่อกับอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอ เลิงนกทา จังหวัดยโสธร
2. ถนนลาดยาง รพช. ผ่านหมู่ที่ 9 บ้านปลาโด เข้าเขตตำบลภูเขาทองไปยังอำเภอเมยวดี
3. ถนนลาดยาง กรมโยธาธิการ ผ่านหมู่ที่ 10 บ้านฉวะ
4. ถนนเชื่อมหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นถนนคอนกรีตและลูกรัง
การคมนาคมในเขตตำบลใช้เดินเท้า รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการติดต่อกับชุมชนอื่นนอกเขตตำบลใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์มาสู่ถนนสายหลัก เพื่อต่อรถประจำทางไปยังอำเภอใกล้เคียง
การขนส่งผลผลิตทางการเกษตร สินค้าเกษตรส่วนใหญ่จะใช้รถบรรทุกขนาดเล็กขนส่งผลผลิตจากแหล่งผลิตในหมู่บ้านมาส่งที่แหล่งรับซื้อในเขตอำเภอหนองพอกและอำเภอใกล้เคียง
5.2 การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ..................... - ...................... แห่ง
- สถานีโทรคมนาคมอื่น ๆ ...................... - ...................... แห่ง
5.3 การไฟฟ้า
ในเขตตำบลหนองพอกมีไฟฟ้าเข้าถึงให้บริการภายในตำบลทุกหมู่บ้าน ทั้งตำบลมีไฟฟ้าใช้ร้อยละ 100
&nb
View : 10663